เทคนิคแต่งภาพ สอนแต่งรูปคุมโทน วิธีแต่งรูปphotoshop วิธีแต่งรูปในโทรศัพท์

Search
Close this search box.

เทคนิคแต่งภาพ สอนแต่งรูปคุมโทน วิธีแต่งรูปphotoshop วิธีแต่งรูปในโทรศัพท์

Search
Close this search box.
Search

แต่งให้สวยด้วยแอปเดียว สอนแต่งรูปง่ายๆ ที่ผู้ชายแต่งให้สวยได้

แต่งให้สวยด้วยแอปเดียว

เริ่มด้วยการเลือกรูปที่เราจะปรับแต่ง

เริ่มต้นด้วยการเลือกรูปที่ต้องการปรับแต่งกันก่อน ซึ่งจะเลือกเป็นรูปตัวเอง อาหาร สถานที่ ธรรมชาติใด ๆ ก็ได้ ลองแต่งตามคำแนะนำของเราพร้อมทำความเข้าใจการใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ใน Lightroom กันก่อน จากนั้นเมื่อใช้งานได้อย่างคล่องแคล่วแล้วค่อยลองแต่งรูปหลาย ๆ แบบ สำหรับวันนี้ MenDetails เลือกปรับรูปอาหารครับ

การแต่งรูปเป็นเรื่องของแสงและสี

สำหรับการปรับรูป เราสามารถแบ่งหมวดหมู่อย่างง่ายที่สุดออกเป็น การแต่งแสง (Light) และ สี (Color) มาลองดูหน้าตาของ Lightroom กันก่อน สำหรับ Tab ด้านล่างที่ทุกคนเห็น คือ เครื่องมือพื้นฐานทั้งหมด ซึ่งจริง ๆ แล้วนั้นแอปฯ จะมีปุ่ม Auto ที่จะทำการปรับแต่งแสงสีให้รูปของเราอัตโนมัติ แต่ก่อนที่จะกด Auto เราอยากให้ทุกคนรู้พื้นฐานของเครื่องมือกันก่อน บางทีหากได้รู้ปุ่มนี้ก็คงจะไม่จำเป็นอีกต่อไป

ว่าด้วยเรื่องของแสง (Light)

เรามาเริ่มกันที่ Light ปุ่มนี้มีหน้าที่เพื่อปรับแสงโดยรวมของรูป และเมื่อกดเข้าไป จะมีให้ปรับหลายอย่าง ประกอบด้วย Exposure, Contrast, Highlight, Shadows, Whites, Blacks ซึ่งแต่ละอย่างจะให้ผลลัพธ์กับรูปไม่เหมือนกัน

Exposure

คือ ความสว่างของรูป หากบวกเพิ่ม จะทำให้รูปสว่างขึ้น แต่หากลดรูปก็จะมืดลง โดยหน่วยของมันคือสต็อป (Stop) ยกตัวอย่างเช่น +1.00 ก็จะเท่ากับเพิ่มความสว่างไป 1 สต็อป

Contrast

Contrast คือ ค่ากำหนดความต่างระหว่าง ‘ส่วนมืด’ และ ‘ส่วนสว่าง’ ของรูป ยิ่งเพิ่มก็ยิ่งต่างกันอย่างชัดเจน แต่หากลดค่า Contrast ลงรูปก็จะดูฟุ้ง เพราะส่วนมืดและส่วนสว่างของรูปใกล้เคียงกันมากขึ้น

Highlight

เครื่องมือนี้ใช้ปรับค่าความเข้มของ ‘ส่วนสว่าง’ ของรูป มักใช้ในตอนที่เราอยากได้ดีเทลกลับมาจากรูปที่มีส่วนสว่างมากเกินไป (เช่น จุดที่แสงไฟกระทบหรือท้องฟ้าตอนกลางวัน)

Shadows

เครื่องมือนี้ใช้ปรับค่าความเข้มข้นของ ‘ส่วนมืด’ ของรูป หลักการใช้เหมือนกันกับ Highlight แต่เป็นส่วนตรงข้ามกัน มักใช้เวลาต้องการดึงดีเทลในรูปกลับมาจากส่วนที่มืดมากๆ (เช่น ภาพเงา ภาพตอนถ่ายย้อนแสง)

Whites / Blacks

เครื่องมือนี้ หลักการใช้คล้ายกันกับ ‘Highlights’ และ ‘Shadows’ แต่ที่แตกต่างกัน คือ ทั้ง ‘Whites’ และ ‘Blacks’ จะไม่ดึงเอาดีเทลกลับมาด้วยเหมือนสองเครื่องมือที่กล่าวไปข้างต้น

ว่าด้วยเรื่องของสี (Color)

เครื่องมือถัดมา คือ Color (หรือที่โปรแกรมอื่นเรียกว่า White Balance) โดยเครื่องมือนี้ไว้ใช้สำหรับปรับสมดุลแสงสีขาวรูปทุกรูปที่ถ่ายออกมาจะมีแหล่งแสงที่แตกต่างกัน บางรูปอาจเกิดจากแสงอาทิตย์สีส้ม บางรูปก็อาจเกิดจากแสงไฟสลัวหรือหลอดไฟสีต่าง ๆ เครื่องมือนี้จะช่วยให้รูปที่มีสีต่างๆ ผิดเพี้ยนไปกลับมาเป็นสีขาวได้ทุกสภาพแสง โดยประกอบด้วย 4 เครื่องมือย่อย ได้แก่ Temp, Tint, Vibrance, Saturation

Temp (Temperature)

อุณหภูมิสี หลักการใช้นั้นง่ายมาก ปรับให้ภาพมีอุณหภูมิสูง (สีส้ม) หรืออุณหภูมิต่ำ (สีฟ้า) โดยเราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นการแก้แสงให้กลับมาเป็นสีขาวเหมือนที่ควรจะเป็นหรือจะใช้เป็นลูกเล่นให้ภาพของเรามีสีฟ้าหรือส้มก็ได้

Tint

ส่วน Tint เป็นการปรับให้รูปของเราติดโทนสีฟ้าชมพูหรือเขียว ไว้สำหรับแก้สีของแหล่งสีนั้นไม่ให้ติดโทนสีใดสีหนึ่งมากเกินไป

Vibrance และ Saturation

เครื่องมือสองอย่างนี้ใช้สำหรับปรับความอิ่มสีของภาพ ซึ่งความแตกต่างของเครื่องมือสองตัวนี้ คือ Vibrance จะใช้ปรับค่าความอิ่มสีเฉพาะส่วนที่ความอิ่มสีต่ำ ในขณะที่ Saturation จะปรับความอิ่มของสีทั้งภาพ ตัวอย่างภาพที่ยกมา จะสังเกตได้ว่าเมื่อเราปรับ Saturation ลดลงต่ำ ผลที่ได้จะให้โทนสี ขาว/ดำ สนิทมากกว่า Vibrance

เมื่อปรับทุกอย่างลงตัว สำหรับภาพตัวอย่างที่ MenDetails เลือกใช้จะออกมาแบบนี้

และนี่คือเครื่องมือพื้นฐานที่สำหรับการ สอนแต่งรูปง่าย ๆ ทุกคนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ตามความเหมาะสม ตามสไตล์ของตัวเองกันได้เลย ใครที่อยากจะคุมโทนใน Instagram ก็จะทำได้ง่ายขึ้นแล้วครับ จะปรับด้วย Lightroom แล้วจบเลย หรือจะนำไปแต่งโทนต่อในแอปฯ อื่น ๆ ก็ได้เช่นกันครับ

ที่มา: mendetails

Tags

แชร์: